ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 83 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

กรรมการถูกดำเนินคดีอาญาร่วมกับบริษัท ผู้จัดการบริษัทถูกฟ้องคดีอาญาร่วมกับบริษัท วิศวกรถูกฟ้องคดีอาญา สถาปนิกถูกฟ้องคดีอาญา บริษัทหรือนิติบุคคลทำผิดอาญาฟ้องกรรมการ ผู้จัดการหรือคนรับผิดชอบได้หรือไม่ ความรับผิดทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ.2560

                    ปัจจุบันมีการออกกฏหมายกำหนดความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคลแล้ว คือ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฏหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ.2560  โดยมีการให้แก้ไขกฏหมายต่างๆ ที่มีบทบัญญัติเกี่ยวเนื่องกับความรับผิดของผู้แทนนิติบุคคลในกฏหมายอื่นๆ จำนวนทั้งสิ้น 76 ฉบับ โดยกฎหมายที่แก้ไขทั้ง 76 ฉบับนั้น ได้กำหนดความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคลไว้ในหลักการเดียวกันคือ "ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือกระทำการของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในความผิดนั้นๆ ด้วย" โดยการพิจารณาจะต้องประกอบด้วย

                    1. บุคคลทีกระทำความผิดได้แก่ กรรมการ ผู้จัดการ  วิศวกร สถาปนิก หรือบุคคลใดที่รับชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคล เป็นต้น

                     2. ต้องมีการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายในความผิดแต่ละฐานในกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติม 76 ฉบับดังกล่าว

                     3. ต้องเป็นการกระทำเกิดจากสั่งการหรือเป็นการกระทำของกรรมการหรือผู้แทนนิติบุคคล หรือกรรมการหรือผู้แทนนิติบุคคลนั้นมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการแต่กลับไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิดในกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติม 76 ฉบับดังกล่าว (ไม่ใช่กรรมการหรือผู้แทนนิติบุคคลทุกคนที่ผิด)

                     4. การกระทำดังกล่าวต้องมีเจตนาในการกระทำความผิดด้วย คือ มีเจตนาสั่งการ กระทำการ หรือละเว้นกระทำการด้วย  ไม่ว่าจะเป็นด้วยการมีส่วนก่อ หรือร่วม หรือสนับสนุนการกระทำความผิดก็ตาม

                     การถูกดำเนินคดีตามกฎหมายดังกล่าวไม่ว่าถูกหมายเรียกผู้ต้องหาจากพนักงานสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีต่อศาลก็ตาม  ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องพิจารณาก่อนว่าตนเองได้กระทำความผิดหรือไม่ มีส่วนสั่งการ กระทำการ หรือละเว้นกระทำการหรือไม่ เข้าข่ายความผิดตามกฎหมายใน 76 ฉบับหรือไม่ กระทำผิดโดยเจตนาหรือไม่ประกอบด้วย  เพราะความผิดแต่ละเรื่องย่อมมีบทลงโทษเป็นไปตามกฎหมายที่ฝ่าฝืนในกฎหมายแต่ละฉบับ การให้ปากคำในฐานะผู้ต้องหา หรือในฐานะพยาน หรือการต่อสู้คดีในทิศทางใดย่อมเป็นเรื่องสำคัญ  ดังนั้นการบริหารงานในฐานะเป็นกรรมการหรือผู้แทนนิติบุคคลในปัจจุบันควรศึกษากฎหมายดังกล่าวและมีการดำเนินการต่างๆ อย่างรัดกุมในการบริหารงานด้วยเพื่อไม่ต้องตกเป็นผู้ต้องหาตามกฎหมายดังกล่าว  By www.siaminterlegal.com