ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 83 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ศาลชั้นต้นยกฟ้องคดีอาญาศาลอุทธรณ์ลงโทษฏีกาได้ คดีห้ามฏีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ทนายเขียนฏีกาคดีอาญาอย่างไร

             คดีอาญาที่ต้องห้ามฏีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 218 คือ กรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับแต่โทษจำคุกไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฏีกาในปัญหาข้อเท็จจริง  แต่หากเป็นกรณีศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี ไม่ว่าจะมีโทษอย่างอื่นด้วยหรือไม่ ห้ามมิให้โจทก์ฏีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

             ดังนั้นในกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ต่อมาโจทก์อุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ลงโทษจำคุกจำเลย  คดีดังกล่าวย่อมไม่ต้องห้ามจำเลยที่จะฏีกาคำพิพากษาต่อไป  เนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ืจะต้องห้ามฏีกาใดๆ ตามกฎหมาย  จำเลยย่อมยื่นฏีกาได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย  ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งที่คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ตรงกัน และเรื่องดังกล่าวก็สมควรที่ศาลฏีกาจะเป็นผู้ชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่  การเขียนฏีกาคดีอาญาสำหรับคดีในลักษณะดังกล่าวก็ควรหาประเด็นที่ศาลชั้นต้นหยิบขึ้นวินิจฉัยมาขยายความ และหาคำพิพากษาศาลฏีกาที่ตัดสินไว้เป็นบรรทัดฐานมานำเสนอด้วย เพื่อประโยชน์ของการพิจารณาของศาลฏีกา  ในส่วนของการคัดค้านเหตุผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็ควรนำประเด็นที่ศาลหยิบยกมานั้นมาเขียนหักล้างคำวินิจฉัยดังกล่าวด้วยพยานบุคคล พยานเอกสาร แนวบรรทัดฐานของศาลฏีกาต่างๆ และการชั่งน้ำหนักของพยานหลักฐานนั้นๆ ว่าน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไรด้วย  เพราะหากพยานหลักฐานโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ หรือไม่มีน้ำหนัก หรือเป็นเพียงการกล่าวอ้างลอยๆ จำเลยก็ไม่มีความผิด  By www.siaminterlegal.com