ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 62 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ฟ้องคดีเช็คทางแพ่งอย่างไร กรรมการลงชื่อในเช็คต้องรับผิดหรือไม่ บริษัทรับผิดตามเช็คหรือไม่ วิธีต่อสู้คดีเช็คทางแพ่ง คนลงชื่อในเช็คต้องรับผิดหรือไม่ ทนายต่อสู้คดีเช็คอย่างไร ทนายอุทธรณ์ฏีกาคดีเช็คทางแพ่งอย่างไร

                  บุคคลผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น ตามมาตรา 900  ซึ่งความผิดรับของบุคคลผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นความรับผิดโดยเด็ดขาด แม้ตั๋วเงินนั้นผู้ลงลายมือชื่อจะไม่ใช่เจ้าของบัญชีก็ตาม และการลงลายมือชื่อไม่ว่าจะเป็นการชื่อสมมุติ นามแฝง ชื่อเสียงทางการค้า หรือใช้ชื่ออย่างอื่นก็ต้องรับผิด  และแม้ผิดเงื่อนไขที่ตกลงกับธนาคาร หรือลงลายมือชื่อแล้วส่วนคนเขียนรายละเอียดเป็นบุคคลอื่นก็ต้องรับผิด  ส่วนคนที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อไม่ต้องรับผิด  และการฟ้องคดีต้องดูก่อนว่าใครเป็นผู้ทรง นิติบุคคลเป็นผู้ทรง หรือกรรมการในฐานะส่วนตัวเป็นผู้ทรง เพราะอาจมีผลทำให้แพ้คดีได้เพราะไม่มีอำนาจฟ้อง

                  กรณีกรรมการลงลายมือชื่อในตั๋วเงินในนามบริษัทถือว่าบริษัทลงลายมือชื่อ กรรมการไม่ได้ลงลายมือชื่อในฐานะส่วนตัวย่อมไม่ต้องรับผิด  แต่หากกรณีลงลายมือชื่อไม่ถูกต้องตามข้อบังคับบริษัท ย่อมไม่ถือว่าบริษัทลงลายมือชื่อบริษัทไม่ต้องรับผิด ส่วนกรรมการที่ลงลายมือชื่อไปนั้นถือว่ากระทำไปในฐานะส่วนตัว และถือว่ากรรมการไม่ได้เขียนแถลงว่ากระทำการแทนบริษัท เช่น ลงลายมือชื่อกรรมการไม่ครบจำนวนตามข้อบังคับ ไม่มีการประทับตราบริษัท เป็นต้น  หากบริษัทลงลายมือชื่อถูกต้องแล้วย่อมผูกพันบริษัท และกรรมการลงชื่อในด้านหลังด้วยกรรมการก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวอีกด้วย

                 สำหรับการต่อสู้คดีเช็คทางแพ่งนี้บุคคลที่ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินหรือเช็คจะปฏิเสธความรับผิดได้ต่อเมื่อได้กระทำการแทนบุคคลอื่นและมีการเขียนแถลงว่ากระทำการแทนบุคคลอื่น หากไม่ได้เขียนไว้บุคคลนั้นต้องรับผิด เช่น เขียนว่า "กระทำการแทน" "เป็นตัวแทน" หรือ "ในฐานะจัดการแทน" และระบุชื่อผู้ที่จะกระทำการแทนด้วย

                 ดังนั้น การฟ้องคดีตั๋วเงินหรือเช็คในทางแพ่ง การต่อสู้คดีตั๋วเงินหรือเช็คทางแพ่ง หรือการอุทธรณ์ฏีกาคดีตั๋วเงินทางแพ่งนั้น ต้องมีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายลักษณะตั๋วเงินและกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทเป็นอย่างดี เนื่องจากศาลจะใช้เหตุผลทางกฎหมายและคำพิพากษาศาลฏีกาที่เคยวินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานในการตัดสินคดีเป็นสำคัญ  By www.siaminterlegal.com