ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 38 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

บริษัทนายจ้างถูกพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จ่ายเงินแก่ลูกจ้างจะทำอย่างไร ฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานทำอย่างไร ไม่ยื่นฟ้องคดีขอเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานมีผลอย่างไร

                       ปัญหาการเลิกจ้างพนักงานเกิดขึ้นจำนวนมากไม่ว่าจะเลิกจ้างด้วยเหตุผลใดก็ตาม  มีจำนวนไม่น้อยที่ลูกจ้างไปร้องต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พนักงานตรวจแรงงานจะทำการสอบสวนและมีคำสั่ง  ในกรณีมีคำสั่งให้นายจ้างรับผิดชดใช้เงินให้แก่ลูกจ้างนั้น  นายจ้างมีสิทธิดำเนินการได้สองประการ คือ ชำระเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ซึ่งวิธีการดังกล่าวสามารถกระทำได้แต่ในองค์กรนั้นมีพนักงานจำนวนมากอาจเห็นข้อเท็จจริงและทำวิธีการเดียวกัน ซึ่งบางทีคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานอาจไม่ถูกต้องเนื่องจากสอบสวนไม่รัดกุมหรือไม่ครอบคลุมไม่เหมือนการที่ศาลพิจารณา  หรืออีกวิธีหนึ่งคือนายจ้างไปยื่นฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน โดยต้องฟ้องภายในกำหนด 30 วัน นับแต่ทราบคำสั่ง หากไม่ฟ้องถือว่าถึงที่สุด หากไม่ชำระก็เป็นความผิดอาญาด้วย  ดังนั้นการฟ้องคดีและเมื่อคดีถึงที่สุดและปฏิบัติตามคำพิพากษาจะทำให้คดีอาญาระงับตามกฏหมาย นายจ้างจึงควรเลือกใช้วิะีการฟ้องคดีในลักษณะดังกล่าว  สำหรับการฟ้องคดีนั้นต้องหักล้างให้เห็นว่าคำวินิจฉัยของพนักงานตรวจแรงงานไม่ถูกต้องหรือขัดต่อพยานหลักฐานในการสอบสวนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร มีความเป็นนายจ้างลูกจ้างกันหรือไม่ เข้าเหตุเลิกจ้างหรือไม่ เป็นต้น  ดังนั้นการฟ้องคดีจึงเป็นทางเลือกสำคัญที่จะทำให้ศาลเห็นว่านายจ้างกระทำโดยชอบแล้วอย่างไร และเพื่อไม่ให้พนักงานอื่นเห็นช่องทางการดำเนินการเอาเยี่ยงอย่างหรือเป็นการปล่อยให้ยุติไปเท่ากับการยอมรับว่านายจ้างกระทำผิดตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานจริง  อีกทั้งในการสืบพยานต่อศาลนั้นสามารถนำเสนอพยานหลักฐานนอกเหนือที่ปรากฎในสำนวนการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานได้ ซึ่งหมายถึงสามารถทำให้ศาลเห็นข้อเท็จจริงทั้งหมดให้เห็นว่าคำวินิจฉัยของพนักงานตรวจแรงงานไม่ถูกต้องอย่างไร  By www.siaminterlegal.com