ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 80 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ความผิดข้อหาฉ้อโกง โดนแจ้งความคดีฉ้อโกงทำอย่างไร โดนหมายเรียกคดีฉ้อโกง โดนฟ้องคดีฉ้อโกงทำอย่างไร ความผิดฐานฉ้อโกงกับการผิดสัญญาทางแพ่งเป็นอย่างไร ผิดสัญญาจ้างทำของหรือสัญญาก่อสร้างกับความผิดฐานฉ้อโกง ประเด็นอุทธรณ์ฏีกาคดีฉ้อโกง

                      ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 คือการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ

                     องค์ประกอบความผิดอันหนึ่งของการฉ้อโกงคือการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ  ประเด็นดังกล่าวเกิดปัญหาในการตีความกันจำนวนมากว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกงหรือเป็นเพียงความผิดในเรื่องการผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น ซึ่งส่งผลถึงอำนาจร้องทุกข์ อำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวน อำนาจฟ้องของพนักงานอัยการ อำนาจฟ้องของโจทก์กรณีฟ้องคดีเอง เป็นต้น โดยข้อความที่แสดงจะต้องเป็นเหตุการณ์ในอดีตหรือปัจจุบันเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคต เพราะเหตุการณ์ในอนาคตนั้นเป็นเรื่องไม่แน่นอน หรือการรับรองว่าจะปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดในอนาคตก็ไม่เป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เช่น การชักชวนร่วมลงทุนและมีข้อตกลงในอนาคต หรือกรณีทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างหรือจ้างทำของกันแต่ท้ายสุดทำงานไม่แล้วเสร็จ ผู้ว่าจ้างหลายรายมักจะใช้วิธีฟ้องคดีข้อหาฉ้อโกงทั้งที่มีการลงมือทำงานกันแล้วซึ่งเป็นเพียงความผิดทางแพ่งเกี่ยวกับการผิดสัญญาเท่านั้น

                    แต่อย่างไรก็ตามหากการแสดงข้อความในอนาคตนั้นผู้แสดงรู้อยู่ในปัจจุบันว่าไม่เป็นความจริงก็ถือว่าเป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จได้เช่นเดียวกัน  ดังนั้นประเด็นเรื่องการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือไม่ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นรายกรณีไป  By www.siaminterlegal.com