ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 21 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ทำอย่างไรให้ศาลรอการลงโทษ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขให้ศาลรอการลงโทษทำอย่างไร ถูกดำเนินคดีอาญาแล้วทำอย่างไรให้ศาลรอการลงโทษ

                  การที่ศาลจะรอการลงโทษให้จำเลยได้ต้องไม่ปรากฎว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อน หรือเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่เข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 วรรคหนึ่ง (2) (3)  คือ เคยรับโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือเคยรรับโทษจำคุกมาก่อนแต่พ้นโทษจำคุกมาแล้วเกินกว่าห้าปี แล้วมากระทำความผิดอีก โดยความผิดในครั้งหลังเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ  นอกจากนี้ต้องทำให้ศาลเห็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้กระทำผิดเกี่ยวกับอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อม หรือสภาพความผิด หรือการรู้สึกความผิด และการพยายามบรรเทาผลร้าย และเหตุต่างๆ ที่ควรปราณีด้วย  ศาลจึงจะมีอำนาจใช้ดุลพินิจรอการลงโทษให้แก่จำเลยได้

                 การนำเสนอข้อเท็จจริง รวมทั้งเหตุอันที่ศาลควรเมตตาปราณีจำเลยในการไม่ให้ถูกจำคุกขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง และสำนวนการเรียบเรียงและการนำเสนอหลักฐานต่างๆ ต่อศาลให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย และชี้จุดให้ตรงประเด็นต่อการรอการลงโทษ  เนื่องจากสำนวนการเรียบเรียงต่างๆ ย่อมมีผลต่อการโน้มน้าวจิตใจของผู้ตัดสินคดีเป็นอย่างยิ่ง  การเรียบเรียงและการนำเสนอพยานหลักฐานข้อเท็จจริงต่างๆ ควรตั้งอยู่ในความสมเหตุสมผลมีหลักฐานสนับสนุนและความน่าเชื่อถือเป็นสำคัญ  เนื่องจากมีผลกระทบโดยตรงต่อเสรีภาพของจำเลยในคดีอาญา  By www.siaminterlegal.coom