ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 18 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

โดนฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมทำอย่างไร วิธีการต่อสู้กรณีโดนฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ข้อต่อสู้ฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมหนีหนี้ ประเด็นอุทธณ์ฏีกาฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมหนีหนี้

                   เจ้าหนี้บางรายอาจเสียเปรียบจากการจะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ โดยอ้างว่าลูกหนี้ทำการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินหนีหนี้ โดยฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการหนีหนี้ดังกล่าวหรือที่เรียกว่าฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉล  ซึ่งในความเป็นจริงผู้ได้รับทรัพย์สินไปดังกล่าวอาจไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับหนี้สินด้วยก็ต้องถูกฟ้องรวมไปด้วย  ซึ่งการได้ทรัพย์สินมาต้องสูญเสียเงินไปและยังมาถูกฟ้องให้เพิกถอนอีกย่อมไม่ถูกต้อง  เมื่อโดนฟัองดังกล่าวแล้วต้องต่อสู้คดีโดยยื่นคำให้การต่อศาลภายในเวลาที่กฎหมาายกำหนด มิเช่นนั้นจะถือว่าขาดนัดยื่นคำให้การและมีโอกาสแพ้คดีแทบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ต้องถูกเพิกถอนนิติกรรมการได้มา หากเพิกถอนไม่ได้ก็ต้องชดใช้เงินแทน  ประเด็นที่ต้องต่อสู้ เช่น ผู้ได้ทรัพย์ไปนั้นไม่เคยรู้ว่ามีหนี้สินใดๆ ต่อกันอันเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ  แต่เป็นการได้มาโดยสุจริต มีการเสียค่าตอบแทน หรือมีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว  หรือคดีขาดอายุความหนึ่งปีแล้ว หรือเมื่อซื้อแล้วก็ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างแท้จริง หรือเป็นการซื้อทรัพย์เพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้จำนองของลูกหนี้เอง ไม่เป็นการเสียเปรียบแก่เจ้าหนี้ หรือไม่ใช่เรื่องนิติกรรมแต่เป็นเรื่องอื่นๆ หรือมีทรัพย์สินอื่นพอชำระหนี้ได้ หรือผู้ฟ้องคดีไม่ใช่เจ้าหนี้ หรือการทำนิติกรรมกระทำโดยเจ้าหนี้หรือเจ้าหนี้ยินยอม หรือไม่มีพฤติการณ์ที่เป็นการรู้เห็นยินยอมในการหนีหนี้ใดๆ เป็นต้น  เนื่องด้วยการฟ้องคดีในลักษณะดังกล่าวจะต้องฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการได้ทรัพย์ไปทั้งหมดมิเช่นนั้นอาจเกิดปัญหาชั้นการบังคับตามคำพิพากษา และส่งผลทำให้ผู้ได้ทรัพย์ไปต้องถูกฟ้องไปด้วย ลูกหนี้หรือผู้ได้รับทรัพย์สินไปควรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวบ้าง มิเช่นนั้นการซื้อทรัพย์จากบุคคลใดก็มีโอกาสถูกเพิกถอนได้ในภายหลัง  By www.siaminterlegal.com