ขณะนี้มีผู้เข้าชม

เรามี 24 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ผู้ค้ำประกันการทำงานของลูกจ้างโดนนายจ้างฟ้องทำอย่างไรและจะต่อสู้คดีอย่างไร วิธีการต่อสู้คดีการอุทธรณ์ฏีกาของผู้ค้ำประกันการทำงาน

                 ในปัจจุบันการทำงานเป็นลูกจ้างของบริษัทมักจะมีการให้ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของลูกจ้างไว้ด้วย  หากลูกจ้างทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายก็จะให้ผู้ค้ำประกันร่วมกันรับผิดชอบ  ปัญหาในทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นเมื่อนายจ้างเห็นว่าลูกจ้างทำผิดทำให้บริษัทได้รับความเสียหายก็จะยื่นฟ้องทั้งตัวลูกจ้างและตัวผู้ค้ำประกัน  สำนักงานฯ จะขอกล่าวในเรื่องการต่อสู้คดีของผู้ค้ำประกันว่ามีอย่างไรบ้าง  กรณีผู้ค้ำประกันนั้นจะต้องดูว่าเป็นการงานที่กฎหมายกำหนดให้มีการค้ำประกันได้หรือไม่ เนื่องจากไม่ใช่ทุกประเภทงานที่จะนายจ้างจะให้มีการทำสัญญาค้ำประกันได้  และสัญญาค้ำประกันมีการกำหนดวงเงินความรับผิดหรือไม่ หรือกำหนดวงเงินผิดเท่าใดเกินกว่าวงเงิน 60 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับหรือไม่ สัญญาค้ำประกันเป็นไปตามแบบและเงื่อนไขของประกาศกระทรวงแรงงานฯ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ หรือไม่  และย่อมตกเป็นโมฆะไม่อาจนำมาฟ้องผู้ค้ำประกันได้หรือไม่  นอกจากนี้ยังต้องดูว่ามีการบอกกล่าวการผิดนัดไปยังผู้ค้ำประกันหรือไม่  และผู้ค้ำประกันเคยทำหนังสือรับสภาพหนี้หรือทำเอกสารยอมรับการเป็นหนี้ที่จะชดใช้แทนหรือไม่อีกด้วย  กรณีดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้ในส่วนของการค้ำประกัน  โดยผู้ค้ำประกันยังสามารถยกข้อต่อสู้ในส่วนลูกจ้างได้อีกด้วย เช่น ความเสียหายมีไม่ถึงจำนวนที่ฟ้อง หรือยอดหนี้สูงเกินควร หรือลูกจ้างไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายทำให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบ เป็นต้น  

                อนึ่ง เนื่องจากข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันจะต้องอ้างประกาศกระทรวงแรงงานฯ ซึ่งศาลไม่อาจรู้ได้เอง  เนื่องจากไม่ใช่ตัวพระราชบัญญัติ  แม้ประกาศดังกล่าวจะออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ก็ตาม  ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้ค้ำประกันที่จะต้องนำสืบเรื่องดังกล่าวต่อศาลต่อไป  ดังนั้นการนำเสนอพยานหลักฐานและตั้งประเด็นข้อต่อสู้จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในการต่อสู้คดีของผู้ค้ำประกัน  By www.siaminterlegal.com